เมนูหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยงาน
ข้อมูลอาคารและสิ่งก่อสร้าง
ข้อมูลผลงานประเภทต่างๆ
ปฏิทินการแจ้งซ่อมครุภัณฑ์
ปฏิทินการขอใช้รถยนต์ราชการ
แผนภูมิแสดงข้อมูลครุภัณฑ์
บันทึกข้อมูลโน๊ตบุค
เข้าระบบ
   
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม
 
counter
   
หน้าหลัก » ข้อมูลฝ่ายวิชาการ » รายละเอียดแผนการสอน  
 
ชื่อหลักสูตร
รหัสวิชา พย.1321   ชื่อวิชา การพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1   หน่วยกิต 3(3-0-6)
ปีการศึกษา ภาคการศึกษา :
วัน/เดือน/ปีที่สอน 2553-10-20   จำนวนชั้วโมงรวม 10 ชั่วโมง
จำนวนนักศึกษา 134 คน
วัตถุประสงค์ 1.บอกบทบาทของพยาบาลในการรับผู้คลอดใหม่ได้
2.วินิจฉัยว่าผู้คลอดเข้าสู่ระยะคลอดได้อย่างถูกต้อง
3.ประเมินเพื่อแยกสภาวะปกติและผิดปกติของผู้คลอดได้ถูกต้อง
4.แสดงขั้นตอนการตรวจร่างกายและการตรวจครรภ์ผู้คลอดได้อย่างถูกต้อง
5.บอกข้อบ่งชี้และวิธีการตรวจภายในได้
6.ประเมินสภาพทารกในครรภ์ได้
7.ประเมินความก้าวหน้าของการคลอดได้
8.วิเคราะห์ปัญหาของผู้คลอดในระยะรับใหม่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
9.บันทึกรายงานการรับใหม่ผู้คลอดได้ถูกต้อง
10.วางแผนใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลในระยะที่ 1,2,3,4 ของการคลอดได้
11. อธิบายการทำคลอดและช่วยเหลือการคลอดปกติได้
12. อธิบายการทำคลอดรกได้
13. ประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิดทันทีได้
14. การส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างบิด มารดา ทารกและสมาชิกในครอบครัว
แนวคิดหลัก การดูแลในระยะที่ 1 ของการคลอด เป็นการดูแลระยะตั้งแต่ปากมดลูกเริ่มเปิด จนกระทั่งปาก
มดลูกเปิดครบ 10 เซนติเมตร แบ่งการพยาบาลได้เป็น 2 ระยะ คือ ระยะรับใหม่ เป็นการดูแลผู้คลอดขณะแรกรับที่ห้องคลอด และระยะคลอดเป็นการพยาบาลผู้คลอดระหว่างเฝ้าคลอด
การรับผู้คลอดใหม่เป็นส่วนหนึ่งของการพยาบาลในระยะที่ 1 ของการคลอด ที่มีความสำคัญเนื่องจากในระยะรับใหม่ ซึ่งผู้คลอดแต่ละคนจะมาห้องคลอดด้วยอาการต่างๆกัน เช่นมาด้วยอาการเจ็บครรภ์ มีน้ำเดิน มีมูก มูกปนเลือดหรือเลือดออกทางช่องคลอด มาตามแพทย์นัด หรืออาจมาด้วยภาวะผิดปกติอื่นๆ เช่น อาการบวม ตาพร่ามัว เหนื่อยเพลีย ใจสั่น ครรภ์เกินกำหนด เป็นต้น การตรวจวินิจฉัยเมื่อแรกรับที่ถูกต้องเหมาะสมจะส่งผลต่อการดูแลที่ดี ในทางตรงกันข้ามการตรวจวินิจฉัยที่ผิดพลาด อาจส่งผลถึงการดูแลที่ไม่เหมาะสม ในกรณีที่ไม่แน่ใจในการตรวจวินิจฉัยในระยะแรกการใช้เวลาเฝ้าสังเกตอาการต่างๆต่อไปจะเป็นทางแก้ปัญหาที่ดีอย่างหนึ่ง ซึ่งพยาบาลต้องวินิจฉัยให้ได้ว่าผู้คลอดเข้าสู่ระยะคลอดจริงหรือไม่ หรือมีภาวะแทรกซ้อนใดบ้าง โดยการวินิจฉัยจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลหลายอย่างประกอบกันในการประเมิน ได้แก่ การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจครรภ์ การตรวจภายในและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นต้น และในระยะเฝ้าคลอดมีการประเมินและติดตามความก้าวหน้าของการคลอด โดยใช้พาร์โทกราฟ (Partograph) และประเมินสภาพทารกในครรภ์ เพื่อประเมินภาวะปกติและผิดปกติของผู้คลอดและทารกในครรภ์ และให้การดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้คลอดและทารกในระยะที่ 1 ของการคลอดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
เรื่องที่สอน การประเมินภาวะสุขภาพ การดูแลและช่วยเหลือมารดาและทารกในระยะคลอดปกติ
วิธีการสอน
บรรยาย อภิปราย Station/แบ่งกลุ่มย่อย
ทดลอง สาธิตย้อนกลับ ศึกษาด้วยตนเอง
PL PBL CIPPA
กรณีศึกษา Concept Mapping Clinical Practice
Project/โครงงาน Exhibition Semina
ดูงาน Nursing Conference < Nursing Round
Pre-Post Conference Bed Side Tea Ching  
อื่นฯ
คุณลักษณะแผนการสอน
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สร้างเสริมประสบการณ์จริง
ประสบการณ์จริงอิง CBL เพิ่มชั่วโมงการสอนภาคสนาม
มอบงาน/โครงงาน/Case Study การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสืบค้นข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ เพิ่มชั่วโมงฝึกปฏิบัติ
เพิ่มชั่วโมงห้องปฏิบัติการ เพิ่มชั่วโมงจัดสัมนา
อื่น
งานวิจัยในชั้นเรียน ใช้ ไม่ใช้
นำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ ในงานวิจัยอื่น ใช้ ไม่ใช้
วิธีการวัดและประเมินผล
แบบทดสอบ คะแนน
ชิ้นงาน/รายงาน คะแนน
แบบประเมินจิตวิสัย คะแนน
รวมคะแนน คะแนน
ดาว์โหลดเอกสารการสอน  
   
 
Copyright©Prabormajchannok Instiute of Halth Workforce Development 2009  All rights reserved : Version 7.6.48